สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลน้ำบ่อหลวง อำเภอสันป่าตอง และตำบลดอนเปา อำเภอแม่วาง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลยุหว่า อำเภอสันป่าตอง
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลทุ่งสะโตก อำเภอสันป่าตอง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลดอนเปา อำเภอแม่วาง
การเมือง/การปกครอง
สภาตำบลบ้านแม ได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ประจำปี 2540
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล
ประกาศ ณ วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2539 และประกาศดังกล่าวได้ลงในราชกิจจานุเบกษา
ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 113 ตอนพิเศษ 52 ง ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539
โดยมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป
“องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแม” ได้รับการจัดตั้งเป็น “เทศบาลตำบลบ้านแม”
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
เป็นเทศบาลตำบลบ้านแม ประกาศ ณ วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556
โดยมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นมา
การแบ่งเขตการปกครองและขนาดพื้นที่
หน่วยงานราชการในพื้นที่
1. เทศบาลตำบลบ้านแม
2. ศูนย์ชั่งตวงวัดภาคเหนือ (เชียงใหม่)
3. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าโป่ง
4. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกิ่วแลน้อย
5. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเปียง
6. โรงเรียนบ้านเปียง (รัฐบำรุง)
7. โรงเรียนกิ่วแลน้อยประสิทธิ์วิทยา
8. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ประจำตำบลบ้านแม
(ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน)
การเลือกตั้ง
เทศบาลตำบลบ้านแม สมาชิกสภาเทศบาลตำบลบ้านแม จำนวน 2 เขต
ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาล เขตละ 6 คน รวม 12 คน
มีหมู่บ้านในเขตเลือกตั้งพื้นที่ตำบลบ้านแม ดังนี้
เขตที่ 1 ประกอบด้วย หมู่ที่ 1, 2, 3, 4, 6, 7, 8, 9 (รวม 8 หมู่บ้าน)
เขตที่ 2 ประกอบด้วย หมู่ที่ 5, 10, 11, 12, 13 (รวม 5 หมู่บ้าน)
ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
ตามรายงานสถิติประชากรและบ้าน ระดับตำบล ของตำบลบ้านแม (ข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ถึง 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 จากสำนักทะเบียนอำเภอสันป่าตอง) จำนวนครัวเรือน 2,648 ครัวเรือน ประชากรรวมทั้งสิ้น 6,286 คน แบ่งเป็น ชาย 2,921 คน และ หญิง 3,365 คน
(ข้อมูล ณ วันที่ 1 ถึง 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 จากสำนักทะเบียนอำเภอสันป่าตอง)
ข้อมูลผู้มีสิทธิรับสวัสดิการเบี้ยยังชีพตำบลบ้านแม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
1. เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จำนวน 1,922 ราย
2. เบี้ยความพิการ จำนวน 274 ราย
3. เบี้ยผู้ติดเชื้อ จำนวน 27 ราย
การคมนาคม ถนนสายหลัก จำนวน 4 สาย ได้แก่
การศึกษา
ตำบลบ้านแมมีสถานศึกษาเพื่อรองรับการศึกษาตามช่วงวัย ตั้งแต่ก่อนวัยเรียน ถึง ระดับมัธยมต้น
โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
4.1.1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 3 แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กธรรมชัย
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเปียง
4.1.2 โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 2 แห่ง
- โรงเรียนกิ่วแลน้อยประสิทธิ์วิทยา
- โรงเรียนบ้านเปียง (รัฐบำรุง)
4.1.3 โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 2 แห่ง
- โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ตั้งอยู่ โรงเรียนบ้านเปียง (รัฐบำรุง)
- ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ประจำตำบลบ้านแม
(ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน)
ศาสนา ประเพณีวัฒนธรรม การนับถือศาสนา
ประชากรตำบลบ้านแมส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยมีวัด จำนวน 11 แห่ง
1. วัดหางดง ตั้งอยู่ หมู่ที่ 2 บ้านเด่น
2. วัดท่าโป่ง ตั้งอยู่ หมู่ที่ 3 บ้านท่าโป่ง
3. วัดฉิมพลี (วัดต้นงิ้ว) ตั้งอยู่ หมู่ที่ 4 บ้านฉิมพลี
4. วัดบ้านสัน ตั้งอยู่ หมู่ที่ 6 บ้านสัน
5. วัดร้องขุ้ม ตั้งอยู่ หมู่ที่ 7 บ้านร้องขุ้ม
6. วัดธรรมชัย ตั้งอยู่ หมู่ที่ 8 บ้านแม
7. วัดกิ่วแลน้อย ตั้งอยู่ หมู่ที่ 10 บ้านกิ่วแลน้อย
8. วัดบ้านดง ตั้งอยู่ หมู่ที่ 11 บ้านดง
9. วัดท่าเดื่อ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 12 บ้านท่าเดื่อ
10. อารามส้มสุข ตั้งอยู่ หมู่ที่ 12 บ้านท่าเดื่อ
11. วัดบ้านเปียง ตั้งอยู่ หมู่ที่ 13 บ้านเปียง
สินค้าพื้นเมืองหรือของที่ระลึก
ตำบลบ้านแมมีสินค้าพื้นเมืองหรือของที่ระลึกหลักๆ ได้แก่
ผลิตภัณฑ์ไม้แกะสลัก
กว่าหกทศวรรษที่ชาวกิ่วแลน้อยได้สืบสานงานไม้แกะสลัก งานแกะสลักไม้ของที่นี่สามารถทำได้จากทุกส่วนของต้นไม้จนถึงรากไม้ ซึ่งเกิดจากการเห็นถึงคุณค่าของไม้ งานแกะสลักที่โดดเด่นของบ้านกิ่วแลน้อย ที่ยังคงมีอยู่จนถึงปัจจุบันจะมีทั้งการสลักแผ่นไม้และท่อนไม้ในรูปแบบนูนต่ำ นูนสูงและแบบลอยตัว ส่วนลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์จะมีทั้งลวดลายช้าง ลวดลายในวรรณคดีและชาดก ลวดลายวิถีชีวิตชาวบ้าน นอกจากนี้ในปัจจุบันชาวกิ่วแลน้อยก็ได้สร้างสรรค์งานแกะสลักไม้ในรูปแบบใหม่ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะคือ ช้างลีลา เป็นงานแกะสลักช้างแบบสามมิติที่แกะสลักให้เหมือนช้างจริง มีลำตัวที่ยาวกว่าช้างแบบดั้งเดิม มีผิวหนัง ใบหูแยกออกจากลำตัว และช้างมีหลากหลายอิริยาบถ กลุ่มหัตถกรรมไม้สลักบ้านกิ่วแลน้อย โทร.081-885-0075 E-mail : ambhorn.s@gmail.com
โบราณสถานในพื้นที่ตำบลบ้านแม
1. เจดีย์งาม
เจดีย์วัดร้องขุ้ม (เจดีย์งาม) ตั้งอยู่ หมู่ที่ 7 บ้านร้องขุ้มเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่แห่งหนึ่ง
มีอายุประมาณ 500-600 ปี สันนิษฐานการก่อสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 21
ระหว่างปีพุทธศักราช 2001-2100 เนื้อที่ของโบราณสถานในบัญชีของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
มีเนื้อที่ 2 ไร่ 3 งาน 36 ตารางวา ลักษณะเจดีย์ เป็นเจดีทรงระฆังแบบพื้นเมืองล้านนา
เปรียบเทียบรูปทรงได้กับพระเจดีย์พระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน แต่เจดีย์ของวัดร้องขุ้มจะมีรูปทรงที่ดูสูง
เพรียวมากกว่า การบูรณะองค์เจดีย์ หลวงปู่ครูบาเจ้าบุญปั๋น ธมฺปญโญ ได้บูรณะองค์เจดีย์เป็นช่วงๆ
2. ครูบาบุญปั๋น ธัมมปัญโญ (วัดร้องขุ้ม)
วัดร้องขุ้ม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ครูบาท่านเป็นพระมหาเถระผู้เป็นที่เคารพสักการะทั้งของพระสงฆ์และประชาชนทั่วไป ครูบาท่านได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมกับครูบาอาจารย์หลายท่าน อาทิ เช่น ครูบาคำอ้าย ,
ครูบาน้ำบ่อหลวง เป็นต้น
ปัจจุบันพระธาตุ อัฐิธาตุ ครูบาบุญปั๋น ธัมมปัญโญ เกศาธาตุ ประดิษฐาน ณ วัดสันติธรรม อ.เมือง จังหวัดเชียงใหม่
แหล่งท่องเที่ยวทางภูมิปัญญา, ศิลปวัฒนธรรม
1. พ่อครูช่างสมาน ซาวสิงห์
อยู่บ้านเลขที่ 123 หมู่ 13 บ้านเปียง ต.บ้านแม อ.สันป่าตอง
เมื่อถึงโรงเรียนบ้านเปียง เลี้ยวเข้าไป ประมาณ 100 เมตร
บริเวณพื้นที่โล่งกว้างติดกับโรงเรียนจะพบผลงานประติมากรรมปูนปั้นสิงห์ ผลงาน "ครูสมาน ซาวสิงห์"
พ่อครูได้รับเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินดีเด่นของอำเภอสันป่าตอง
สาขาทัศนศิลป์ ด้านประติมากรรมปูนปั้น ประจำปี พ.ศ. 2551
2. ศูนย์หัตถกรรมไม้แกะสลัก บ้านกิ่วแลน้อย
ชุมชนบ้านกิ่วแลน้อยเป็นหมู่บ้านที่เป็นต้นกำเนิดของการแกะสลัก และมีการแกะสลักมากที่สุด
ผลงานไม้แกะสลักของช่างในหมู่บ้านได้รับคัดเลือกเป็น หนึ่งผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล ในรูปลักษณ์ของช้าง
และแกะสลักลายรามเกียรติ์ ส่วนใหญ่ส่งไปขายต่อที่บ้านถวายเป็นหลัก
ปี พ.ศ. 2547 ได้เข้ารับคัดสรรสุดยอด หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ได้รับระดับสามดาว ดังนี้
1. ช้างอิริยาบถลีลา ของสหกรณ์หัตถกรรมผลิตภัณฑ์ไม้ จำกัด
2. แผ่นภาพกินรา กินรี ของนางอำพรรณ มูลคำ
3. ช้างครอบครัวคลอดลูก ดูดนม และหอช้าง ของนางศิวพร ทองจ่าม
4. กรอบรูปภาพช้างป่า ของนางโสภา กันทะวงศ์
5. แผ่นป้ายมงคลต่าง ๆ และแผ่นป้ายบอกสถานที่ ของนางสุรีย์ หลวงใจ
3. กลุ่มยาสมุนไพร (บ้านยาไทย) หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านแม
เป็นกลุ่มที่จัดตั้งขึ้น เพื่อผลิตยาสมุนไพรไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน
เพื่อสร้างรายได้ให้กับสมาชิกกลุ่ม และเพื่อเป็นการอนุรักษ์สมุนไพรพื้นบ้าน
โดยมี พ่อแก้ว ปัญญาแม, พ่ออิ่นแก้ว มณีเป็ญ, พ่อสาย แสนสิทธิ์ เป็นปราชญ์ยาไทย และหมอเมือง
ผู้มีความรู้ด้านการผลิตยาไทยพื้นเมือง